สงครามโลก ครั้งที่ 2

สงครามโลก ครั้งที่ 2

WW2Montage

สาเหตุการเกิดสงคราม
1. ความไม่เป็นธรรมของสนธิสัญญา หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศแพ้สงครามเกิดความรู้สึกเสมือนถูกบังคับ ซึ่งชาวเยอรมันเรียกว่า “สันติภาพมัดมือชก” จึงดำเนินการ ฉีกสัญญา ละเมิดข้อตกลง
2. ความแตกต่างของลัทธิการเมือง หลายประเทศฝักใฝ่ประชาธิปไตย ขณะที่อีกหลายประเทศเริ่มศรัทธาลัทธิเผด็จการ
3. วิกฤตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากผู้แพ้ต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมหาศาล เกิดปัญหาเงินเฟ้อ ว่างงาน
4. ข้อขัดแย้งเรื่องดินแดน และอาณาเขตใหม่
5. ความไม่สามัคคีของมหาอำนาจ ผู้ชนะ ต่างฝ่ายต่างรักษาผลประโยชน์ของตน
6. ความล้มเหลวขององค์สันนิบาตชาติ ที่ตั้งขึ้นเพื่อผดุงรักษาสันติภาพของโลก แต่ไม่ได้มีอำนาจอย่างจริงจัง
7. ญี่ปุ่น ขณะนั้นเป็นประเทศอุตสาหกรรม ประเทศเดียวในเอเชีย ต้องการวัตถุดิบจากแหล่งอื่นเพื่อป้อนอุตสาหกรรมโรงงาน ประกอบกับนิยมลัทธิบูชิโด ประเมินตนเองเหนือกว่าทุกชาติในแถบเอเชีย ต้องการขยายจักรวรรดิ และเป็นผู้นำของเอเชีย

สถานการณ์สงคราม
สงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มต้นขึ้นเมื่อ เยอรมนีบุกโปแลนด์ ในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 ก่อนที่เยอรมนีจะบุกโปแลนด์ วันที่ 15 มีนาคม ค.ศ. 1939 กองกำลังเยอรมนีข้ามพรมแดนทางตะวันออกบุกเข้ายึดเชคโกสโลวาเกีย

ต่อมาในวันที่ 22 มีนาคม กองกำลังเยอรมนีบุกยึดเมืองท่าเมเมล ( Mamel ) ของลิทัวเนีย ( Lithuania ) บนชายฝั่งทะเลบอลติก และในวันที่ 24 มีนาคม ค.ศ. 1939 เยอรมนีเรียกร้องยึดครองโปแลน์และดานซิก ( Danzing )

ดานซิกเป็นแคว้นอิสระจัดตั้งขึ้นตามข้อตกลงสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ปี 1919 ตั้งอยู่บนอ่าวดานซิกทางตอนเหนือของโปแลนด์

จากการเรียกร้องของเยอรมนี เป็นผลให้ในวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1939 อังกฤษและฝรั่งเศสได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือแก่โปแลนด์หากถูก เยอรมนีรุกราน

เมื่อมีการรุกรานอธิปไตยของประเทศต่างๆ ในยุโรป อังกฤษและฝรั่งเศสเห็นความจำเป็นต้องชักชวนรัสเซียเข้าเป็นพวกเพื่อการถ่วงดุลย์อำนาจทางยุโรป แต่ทางด้านเยอรมนีเกรงว่าจะถูกโจมตีสองด้าน เพราะเยอรมนีอยู่ระหว่างรัสเซียและฝรั่งเศส

เยอรมนีจึงรีบดำเนินการทางการทูตกับรัสเซียตัดหน้าอังกฤษและฝรั่งเศส เป็นผลให้ในวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1939 เยอรมนีและรัสเซีย ร่วมลงนามในข้อตกลงไม่รุกรานกัน ปี 1939 ( The Nazi – Soviet Pact or The Nonaggression Pact of 1939 ) กำหนดไม่รุกรานกันหรือวางตนเป็นกลาง ขณะพันธมิตรรุกรานประเทศอื่น

ต่อมาในวันที่ 1 กันยายน 1939 กองกำลังเยอรมนีข้ามพรมแดนตะวันออก บุกโจมตีรุกรานดินแดนทางด้านตะวันตกของ โปแลนด์อย่างรวดเร็วถือเป็นการเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 2

การรบในยุโรป

102809663

กองกำลังสัมพันธมิตรเป็นฝ่ายบุกเข้าโจมตีเยอรมนี เริ่มจากวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 1945 เป็นต้นไป และข้ามแม่น้ำไรน์ เข้าสู่เยอรมนีได้ในวันที่ 7 มีนาคม 1945 มุ่งเดินทัพเข้ากรุงเบอร์ลินทางตะวันตก

ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ รัสเซียมีชัยชนะสามารถผลักดันกองกำลังเยอรมนีออกจากยูเครน รูมาเนีย บัลกาเรีย ฮังการี และโปแลนด์ มุ่งเดินทัพเข้ากรุงเบอร์ลินตะวันออกที่กรุงเบอร์ลิน

102809652

ฮิตเลอร์ มั่นใจว่าเยอรมนีต้องพ่ายแพ้เป็นแน่ กองกำลังสัมพันธมิตรกำลังเคลื่อนเข้าสู่กรุงเบอร์ลิน และเกรงต้องรับโทษขั้นรุนแรงในฐานะอาชญากรสงครามจึง ฆ่าตัวตายในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1945

กองกำลังสัมพันธมิตร ยึดกรุงเบอร์ลินได้ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 เป็นผลให้กองกำลังเยอรมนีใน ออสเตรีย เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ และ อิตาลี ยอมจำนน ฝ่ายมุสโสลินีถูกพรรคพวกจับได้และถูกฆ่าตาย ในวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1945

รัฐบาลใหม่ของเยอรมนียอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไขต่อผู้บังคับบัญชากองกำลัง สัมพันธมิตร คือ นายพล ดีไวท์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ในวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945 ถือว่าเป็นวันสิ้นสุดการรบในยุโรป

การรบในเอเชีย-แปซิฟิก
ต้นปี ค.ศ. 1945 การรบเป็นไปอย่างดุเดือดเมื่อกองกำลังสัมพันธมิตรเคลื่อนเข้าใกล้หมู่เกาะ ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นได้ทำการต่อต้านอย่างแข็งกร้าวดุดันด้วยหน่วยพลีชีพ ปรากฎเด่นชัดในเดือน มีนาคม ค.ศ. 1945 เมื่อกองกำลังสัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่เกาะโอกินาวา ทหารอเมริกันบาดเจ็บและเสียชีวิตแปดหมื่นคน

สหรัฐฯ ยุติการทำสงครามในภาคพื้นทวีปเอเชีย โดยการใช้ระเบิดปรมาณูกับญี่ปุ่นเนื่องมาจาก สงครามในเอเชียและแปซิฟิกยืดเยื้อมาเป็นเวลานาน นับแต่วัน ที่ 7 ธันวาคม ค.ศ.1941 – 6 สิงหาคม 1945

อีกทั้งญี่ปุ่นเองยังคงยืนยันอย่างเป็นทางการในวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 ว่าจะคงทำสงครามต่อไปจนกว่าจะชนะ และต้องการรักษาชีวิตของทหารอเมริกันซึ่งเป็นกองกำลังหลักต้านทานการรบด้วย หน่วยพลีชีพของญี่ปุ่นสร้างความเสียหายอย่างมากต่อกองกำลังอเมริกัน การใช้ระเบิดปรมาณูจะช่วยรักษาชีวิตทหารอเมริกันได้ถึง 250000 คน และคณะนายทหารอเมริกันนำโดยรัฐมนตรีกระทรวงสงคราม คือ เฮนรี เอล. สตีมสัน ให้การสนับสนุนเห็นสมควรใช้ระเบิดปรมาณูเพื่อปราบปรามญี่ปุ่นขั้นทำลายล้าง เด็ดขาดเพื่อบังคับให้ญี่ปุ่นยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไข

เช้าวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945 เวลา 8.15 น. ระเบิดปรมาณูลูกแรกถูกทิ้งลงที่เมืองฮิโรชิมา บนเกาะฮอนชู แรงระเบิดสร้างความเสียหายครอบคลุมพื้นที่สี่ตารางไมล์ คนบาดเจ็บและตายกว่า 135000 คน

ในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1945 รัสเซียประกาศสงครามกับญี่ปุ่นและเคลื่อนกองกำลังรัสเซียเข้าแมนจูเรีย ภายใต้การยึดครองของญี่ปุ่น ทำลายขวัญและกำลังใจของญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก เพื่อบีบบังคับให้ญี่ปุ่นยอมจำนนยุติสงคราม

Truman

Harry S. Truman ประธานาธิบดี ทรูแมน ( ประธานาธิบดี รูสเวลท์ เสียชีวิตในวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1945 มีผลให้รองประธานาธิบดี คือ ฮา ร์รี เอส. ทรูแมน Harry S. Truman เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีลำดับที่ 33 ของ สหรัฐอเมริกา )ตัดสินใจสั่งทิ้งระเบิดปรมาณูลูกที่สองในวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ที่เมืองนางาซากิ บนเกาะคิวชู

สร้างความเสียหายอย่างมากเป็นครั้งที่สองแก่องค์ จักรพรรดิฮิโรฮิโต เรียกร้องให้คณะรัฐบาลญี่ปุ่นยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไขเพื่อรักษาชาติพันธุ์ ญี่ปุ่น เป็นผลให้ในวันที่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 1945 เป็นวันยุติการรบในเอเชียแปซิฟิก

การลงนามอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1945 บนดาดฟ้าเรือรบมิสซูรี ในอ่าวโตเกียว เป็นการเสร็จสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2

สงครามโลกครั้งที่ 2 ใช้สมรภูมิรบสามทวีปสองมหาสมุทร คือ

ในทวีปยุโรปและมหาสมุทรแอตแลนติก เริ่มการรบในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 ยุติในวันที่ 8 พฤษภาคม ค.ศ. 1945

ในทวีปแอฟริกาเริ่มการรบในวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1940 ยุติในวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1943

ในทวีปเอเชียและมหาสมุทรแปซิฟิกเริ่มการรบในวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ.1941 ยุติในวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1945
โดยฝ่ายสัมพันธมิตร 57 ชาติเป็นผู้มีชัยชนะ ฝ่ายอักษะ นำโดย เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2

การยุติการรบ

109345070

ในเอเชียและแปซิกฟิก การรบในเอเชียยุติในวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ญี่ปุ่นยอมจำนนโดยไม่มีเงื่อนไข

ผลของสงคราม ประชากรโลกเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก กล่าวคือ
ทหารอเมริกันเสียชีวิต 4 แสนนาย
ทหารรัสเซียเสียชีวิต 20 ล้านนาย
ทหารโปแลนด์เสียชีวิต 5.8 ล้านนาย
ทหารเยอรมนีเสียชีวิต 4.5 ล้านนาย
ทหารญี่ปุ่นเสียชีวิต 2 ล้านนาย
ทหารในกลุ่มประเทศยุโรปรวมเสียชีวิต 35 ล้านนาย

สงครามก่อให้เกิดผลกระทบอย่างต่อเนื่อง ภายหลังจากสงครามประเทศต่างๆ ต้องหันกลับมาพัฒนาประเทศของตนให้กลับสู่สภาพเดิม และสร้างความมั่นคงให้กับประเทศ

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันประเทศต่างๆ พยายามที่จะหลีกเลี่ยงสงคราม แต่ก็จะหันมาแข่งขันพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี ในด้านต่างๆ ให้มีความทันสมัยเหนือนานาประเทศ

แหล่งอ้างอิง:http://social-ave.blogspot.com/2010/03/2.html

สงครามโลกครั้งที่ 1

สงคราม คือสิ่งเลวร้ายที่สุดที่มนุษย์กระทำต่อกัน เพราะเมื่อใดที่เกิดภาวะสงคราม ย่อมหมายถึง การสูญเสีย ความเสียหายและความทุกข์ทรมานของทุกฝ่าย ไม่ว่าสุดท้ายฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะก็ตาม อย่างเช่นในสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่มีการสู้รบและสูญเสียต่อเนื่องยาวนานเป็นเวลาหลายปี บทเรียนนี้ทำให้เราควรย้อนกลับมาดูปมของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นว่า สงครามครั้งนี้เริ่มต้นจากอะไร ฝ่ายไหนได้รับชัยชนะและไทยมีบทบาทในสงครามโลกครั้งนี้อย่างไร มาติดตามเรื่องราวกันได้เลย

WW1_TitlePicture_For_Wikipedia_Article

สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1

สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นสงครามที่เริ่มและมีศูนย์กลางอยู่ในทวีปยุโรป ชนวนเหตุสำคัญของความขัดแย้งเริ่มจาก เมื่อ วันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 เกิดการลอบปลงพระชนม์ อาร์ช ดยุก ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ มกุฎราชกุมารแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ขณะเสด็จเยือนกรุงซาราเจโว เมืองหลวงของแคว้นบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนา โดย กัฟรีโล ปรินซีป นักชาตินิยมชาวเซอร์เบีย ออสเตรีย-ฮังการี เชื่อว่า เซอร์เบียอยู่เบื้องหลังในการกระทำดังกล่าว จึงยื่นคำขาดต่อราชอาณาจักรเซอร์เบีย เป็นข้อเรียกร้อง 10 ประการ ซึ่งมีเจตนาทำให้ยอมรับไม่ได้และจุดชนวนสงครามขึ้น เมื่อเซอร์เบียยอมตกลงในข้อเรียกร้องเพียง 8 ข้อ ออสเตรีย-ฮังการี จึงประกาศสงครามเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914

ทั้งนี้ ตัวเร่งไฟสงครามให้โหมกระหน่ำมาจากปมปัญหาเรื่องสมดุลอำนาจที่สั่งสมมานานของหลายประเทศในภาคพื้นยุโรป ทั้งเรื่องการแข่งขันทางเศรษฐกิจ การแย่งชิงอาณานิคมและระบบภาคีพันธมิตรที่แบ่งเป็น 2 ฝ่ายมหาอำนาจก่อนหน้านี้ โดยแยกเป็น ฝ่ายสัญญาไตรภาคี ประกอบด้วย เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี อิตาลี และฝ่ายสัญญาไตรพันธมิตร ประกอบด้วย อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย ซึ่งชาติพันธมิตรเหล่านี้ รวมถึงชาติอาณานิคมของแต่ละประเทศ ต่างถูกดึงให้เข้าร่วมในสงคราม ทำให้ความขัดแย้งลุกลามไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว

สงครามเปิดฉากในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 วันเดียวกับการประกาศสงคราม ประเทศออสเตรีย-ฮังการี ได้เปิดฉากรุกรานเซอร์เบียเป็นครั้งแรก ส่วนเยอรมันที่อยู่ฝ่ายเดียวกัน ก็เปิดฉากรุกรานเบลเยียม เป็นจุดเริ่มของสงครามที่ยากเกินจะยับยั้งอีกต่อไป

สงครามครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายมหาอำนาจไตรภาคีมี ฝรั่งเศส อังกฤษ รัสเซีย และประเทศอาณานิคม หลังจากนั้นได้มีชาติมหาอำนาจเข้าร่วมเพิ่มเติมคือ จักรวรรดิญี่ปุ่น เมื่อเดือนสิงหาคม ปี 1914 , อิตาลี เมื่อเดือนเมษายน ปี 1915 และสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนเมษายน ปี 1917

ส่วนอีกฝ่ายคือ ฝ่ายมหาอำนาจกลาง ประกอบด้วย จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จักรวรรดิเยอรมนีและดินแดนอาณานิคม จากนั้นมีจักรวรรดิออตโตมาน เข้าร่วมด้วยในเดือนตุลาคม ปี 1914 และบัลแกเรียในปี 1915 มีประเทศที่วางตัวเป็นกลางไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดคือ เนเธอร์แลนด์ สเปน และประเทศตามคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย แม้ว่าประเทศเหล่านี้อาจจะเคยส่งเสบียงและยุทโธปกรณ์ไปช่วยเหลือบางประเทศที่รบอยู่ก็ตาม

การสู้รบที่เกิดขึ้นตามแนวรบด้านตะวันตก จะเป็นการรบรูปแบบ สนามเพลาะ (การขุดหลุมเป็นแนวยาวหลายแนวสลับซับซ้อนกัน ด้านหน้าสร้างลวดหนามไว้ต้านทานข้าศึก) และป้อมปราการซึ่งถูกแยกออกจากกันด้วยดินแดนรกร้าง แนวปราการทั้ง 2 ฝ่าย จะตรึงขนานกันเป็นระยะมากกว่า 600 กิโลเมตร

ส่วนในแนวรบด้านตะวันออก เนื่องจากเป็นที่ราบกว้างขวางและมีเครือข่ายทางรถไฟจำกัด ทำให้ไม่สามารถรบรูปแบบสนามเพลาะได้ แม้ว่าความรุนแรงจะไม่ต่างจากด้านตะวันตกก็ตาม ขณะที่แนวรบตะวันออกกลางและแนวรบอิตาลี ก็มีการสู้รบกันอย่างดุเดือดเช่นกัน สงครามครั้งนี้ยังเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของการรบทางอากาศอีกด้วย

หลังจากการรบที่ยาวนานตั้งแต่ วันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 ถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 รวมเวลากว่า 4 ปี 4 เดือน ในที่สุด ฝ่ายที่ได้รับชัยชนะคือ ฝ่ายพันธมิตรที่มีแกนนำเป็น ฝรั่งเศส อังกฤษ รัสเซีย ส่วนฝ่ายที่พ่ายแพ้คือ ฝ่ายมหาอำนาจกลาง ที่ประกอบด้วย จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จักรวรรดิเยอรมนี ภายหลังสงครามได้มีการเซ็นสนธิสัญญาจำนวนมาก แต่สัญญาที่สำคัญคือ สนธิสัญญาแวร์ซายส์ (สนธิสัญญาสันติภาพ ซึ่งเป็นการยุติสถานะสงครามระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรและจักรวรรดิเยอรมัน) เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1919

ผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่ 1
ผลสำคัญอย่างหนึ่งคือ มีการวาดรูปแผนที่ยุโรปใหม่ ทำให้ประเทศมหาอำนาจสูญเสียดินแดนของตัวเองเป็นจำนวนมาก
– จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี แตกออกเป็นประเทศใหม่ ได้แก่ ออสเตรีย ฮังการี เชโกสโลวาเกีย ยูโกสลาเวีย
– จักรวรรดิออตโตมานล่มสลายไป แผ่นดินเดิมของจักรวรรดิบางส่วน ถูกแบ่งให้กลายเป็นอาณานิคมของผู้ชนะสงครามทั้งหลาย
– เยอรมัน ต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมหาศาล
– จักรวรรดิรัสเซีย ได้สูญเสียดินแดนชายแดนด้านตะวันตกจำนวนมาก กลายเป็นประเทศใหม่ ได้แก่ เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ลัตเวีย ลิทัวเนียและโปแลนด์

ขณะเดียวกัน ผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการก่อตั้ง สันนิบาตชาติ เป็นองค์การที่มีสมาชิกหลายประเทศ โดยมีจุดประสงค์อยู่ที่การแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศด้วยวิธีการทางการทูตสหรัฐอเมริกาที่ได้เข้าร่วมรบ ก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจโลกเสรีเคียงคู่กับอังกฤษและฝรั่งเศส ส่วนรัสเซียกลายเป็นมหาอำนาจโลกสังคมนิยม ต่อมาสามารถขยายอำนาจไปผนวกกับแคว้นต่าง ๆ เช่น ยูเครน เบลารุส ฯลฯ จึงประกาศจัดตั้งสหภาพโซเวียต (Union of Soviet Republics -USSR) ในปี ค.ศ. 1922

ส่วนสนธิสัญญาแวร์ซาย ที่ร่างโดยฝ่ายชนะสงครามให้กับเยอรมนีและสนธิสัญญาสันติภาพอีก 4 ฉบับให้กับพันธมิตรของเยอรมนีนั้น ก็เพื่อให้ฝ่ายผู้แพ้ยอมรับผิดในฐานะเป็นผู้ก่อให้เกิดสงคราม แล้วต้องเสียค่าปฏิกรรมสงคราม เสียดินแดนทั้งในยุโรปและอาณานิคม ต้องลดกำลังทหารกับอาวุธ และต้องถูกพันธมิตรเข้ายึดครองดินแดน จนกว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขของสนธิสัญญา แต่เนื่องจากประเทศผู้แพ้ไม่ได้เข้าร่วมในการร่างสนธิสัญญา แต่ถูกบีบบังคับให้ลงนามยอมรับข้อตกลงของสนธิสัญญา จึงเกิดการต่อต้านในหลายประเทศ เช่น การก่อตัวของลัทธิฟาสซิสต์ในอิตาลี นาซีในเยอรมันและเผด็จการทหารในญี่ปุ่น ซึ่งในเวลาต่อมา ประเทศมหาอำนาจทั้ง 3 ได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรระหว่างกัน เพื่อต่อต้านโลกเสรีและคอมมิวนิสต์ เรียกกันว่าฝ่ายอักษะ (Axis) มีการจัดตั้งองค์กรกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างประเทศ เพื่อความมั่นคงปลอดภัยและสันติภาพของโลกในอนาคต

ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 1
สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้เกิดขึ้นตรงกับ พ.ศ. 2457 ขณะนั้นประเทศไทยวางตัวเป็นกลาง แต่เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงติดตามสถานการณ์สงครามอย่างใกล้ชิด แล้วทรงเห็นว่าฝ่ายเยอรมันเป็นฝ่ายที่รุกราน จึงทรงตัดสินพระทัยประกาศสงครามกับเยอรมนีและออสเตรีย -ฮังการี เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 จึงมีการประกาศเรียกพลทหารอาสาสำหรับกองบินและกองยานยนตร์ทหารบก เพื่อเข้าร่วมรบในสมรภูมิยุโรป

การไปร่วมรบครั้งนี้ทหารไทยได้ประสบกาณ์มากมาย ทั้งทางเทคนิคการรบ และทางการช่างในสงครามจริง ไทยยังได้เปลี่ยนธงชาติที่มีสัญลักษณ์รูปช้าง เป็นธงไตรรงค์เพื่อใช้ในการนี้ด้วย

หลังสงครามเสร็จสิ้น ฝ่ายสัมพันธมิตรที่ไทยไปช่วยรบได้รับชนะ ไทยได้รับเชิญให้เข้าเป็นสมาชิกประเภทริเริ่มองค์การสันนิบาตชาติ อันเป็นหลักประกันความปลอดภัยของประเทศ ทั้งยังได้รับเกียรติเข้าร่วมทำสนธิสัญญาแวร์ซาย ได้ทำการยกเลิกสัญญาที่เคยทำไว้กับออสเตรีย – ฮังการีและเยอรมัน ต่อมามีการสร้างอนุสาวรีย์ที่เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งนี้ และในด้านการทหาร ได้จัดตั้งกรมอากาศยานขึ้นเป็นครั้งแรกอีกด้วย

ได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของสงครามโลกครั้งที่ 1 ไปแล้ว เชื่อว่าหลายคนคงได้ข้อคิดสำคัญคือ ไม่ควรแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยความรุนแรง เพราะนอกจากจะไม่ช่วยแก้ปัญหาแล้ว ยังเพิ่มความรุนแรงให้กับปัญหาได้อีกด้วยครับ

แหล่งอ้างอิง:http://hilight.kapook.com/view/80035

การปฏิวัติอุตสาหกรรม

การปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในระบบและวิธีการผลิต คือ เปลี่ยนจากการใช้แรงงานคนและสัตว์มาเป็นเครื่องจักรกลที่สลับซับซ้อน และมีประสิทธิภาพมากขึ้น การปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปเริ่มขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 21 เกิดในประเทศอังกฤษเป็นประเทศแรก โดยในระยะแรกเรียกว่า สมัยแห่งพลังไอน้ำ ซึ่งต่อมาจึงได้เกิดเครื่องจักรไอน้ำของเจมส์ วัตต์ขึ้นเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมทั่วไป

capitalism-2

การปฏิวัติอุตสาหกรรมในระยะที่สองประมาณ พ.ศ.2403-2457 เริ่มมีการใช้แก๊ส น้ำมันปิโตรเลียม และไฟฟ้า แทนถ่านหินและไอน้ำ ซึ่งการใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานหลักของอุตสาหกรรม ส่วนการผลิตด้านการเกษตรกรรมก็เปลี่ยนมาเป็นการผลิตสินค้าเฉพาะอย่างเพื่อการค้า

ร 53

สาเหตุของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
• ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ จึงเกิดความสนใจที่จะประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เพื่อใช้ในการอุตสาหกรรม
• การสำรวจทางทะเลและการแสวงหาอาณานิคม ทำให้มีแหล่งวัตถุดิบและตลาดระบายสินค้า เป็นการกระตุ้นให้การค้าขยายตัว จึงสนับสนุนให้คิดประดิษฐ์เครื่องจักร
• ความมั่นคงและเสรีภาพทางการเมืองในยุโรป ทำให้พ่อค้า นายทุน และนักอุตสาหกรรม มีสิทธิมีเสียงในการปกครองประเทศ การอุตสาหกรรมจึงได้รับการสนับสนุนให้เจริญก้าวหน้า

ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
• การเพิ่มของจำนวนประชากร เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจจากเกษตรกรรมมาเป็นอุตสาหกรรม เกิดการขยายตัวของชุมชนเมือง และความเจริญก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุข
• การขยายตัวของสังคมเมือง เกิดเมืองใหม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากการอพยพของผู้คนในชนบทเข้ามาทำงานในเมือง ทำให้เกิดปัญหาสังคม เกิดอาชีพใหม่ๆ ชนชั้นกลางและพ่อค้านายทุนเข้ามามีบทบาทในสังคมมากขึ้น
• การแสวงหาอาณานิคมและลัทธิจักรวรรดินิยม ประเทศยุโรปที่มีการปฏิวัติการผลิตด้านอุตสาหกรรมมีความจำเป็นต้องแสวงหาแหล่งวัตถุดิบป้อนโรงงาน และขยายตลาดระบายสินค้า จึงเกิดการแข่งขันแสวงหาอาณานิคมขึ้น
• มีความเจริญก้าวหน้าต่อไปไม่หยุดยั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีการใช้วัสดุอื่นแทนวัสดุธรรมชาติพลาสติก เช่น พลาสติก อัลลอยไปจนถึงการใช้ระบบคอมพิวเตอร์

แหล่งอ้างอิง:http://www.skb.ac.th/~skb/computor/ganjana/west_modern_factory.htm

การปฏิวัติการเกษตร

การปฏิวัติการเกษตร

ร 52

หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจุดมุ่งหมายการผลิตทางการเกษตรจากการผลิตเพื่อบริโภคภายในครัวเรือน มาเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายตามความต้องการของตลาด โดยมีการเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้น ด้วยการพัฒนาเทคนิคการผลิต ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบำรุงที่ดินที่เพาะปลูก การใช้ปุ๋ยช่วยเร่งการผลิต การปลูกพืชผลไม้ชนิดใหม่ๆ การปลูกพืชหมุนเวียน การใช้เครื่องมือแผนใหม่ทางการเกษตร ตลอดจนการปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์เลี้ยงให้ดีขึ้น

การปฏิวัติการเกษตรเกิดขึ้นก่อนในประเทศอังกฤษเมื่อต้นศตวรรษที่ 18 เป็นการปฏิวัติอย่างค่อยเป็นค่อยไปจนเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างขนาดใหญ่ ซึ่งมีปัจจัยที่สำคัญ คือ

1. การเพิ่มขึ้นของประชากรของอังกฤษ

2. การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าเกษตร

3. ความต้องการวัตถุดิบและผลผลิตทางการเกษตรเพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรม

4. การลงทุนทางด้านการเกษตรอย่างมากมายของบรรดานายทุน

แหล่งอ้างอิง:http://www.thaigoodview.com/node/50191

สมัยภูมิธรรม

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 อาจเรียกว่า สมัยภูมิธรรม เนื่องจากอำนาจของศาสนจักรที่มีมาในยุคมืดเริ่มเสื่อมลง ประชาชนให้ความสำคัญกับกษัตริย์มากขึ้น เป็นยุคที่เน้นถึงเรื่องของความเป็นธรรมในสังคม กษัตริย์ต้องมีความยุติธรรม มีคุณธรรม เพราะประชาชนเริ่มเข้ามามีบทบาททางการเมืองมากยิ่งขึ้น เช่น การแสดงความคิดเห็นทางการเมือง การเรียกร้องความเท่าเทียมกันในสังคม เป็นต้น

สภาพของเหตุการณ์โดยสรุป

ยุคภูมิธรรม เป็นอีกขบวนการที่สืบเนื่องจากการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ แต่เป็นขบวนการทางความคิดเกี่ยวกับลัทธิมนุษย์นิยม ที่ว่า ถึงแม้ว่าพระเจ้าสร้างมนุษย์และธรรมชาติ แต่มนุษย์เป็นผู้มีเหตุผลที่จะเลือกทำความดี และสามารถนำความเจริญมาสู่สังคม ความคิดนี้สืบเนื่องมาจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ส่งผลต่อแนวความคิดแบบภูมิธรรมซึ่งเริ่มพัฒนาขึ้นในประเทศฝรั่งเศส

ในยุคนี้นักปรัชญาชาวยุโรปหันไปศึกษางานเขียนของชาวกรีกและโรมันซึ่งมีอิทธิพลที่ทำให้นักคิดในยุคภูมธรรมยอมรับความแตกต่างทางความคิด วัฒนธรรม และให้ความสำคัญสำหรับการใช้ชีวิตในโลกนี้มากกว่าโลกหน้า

ร 50

แนวคิดทางการเมืองที่เกิดขึ้นในยุคภูมิธรรมนี้ ทำให้สังคมมีวิธีการปกครองที่ดี คือ มีกฎหมายเป็นหลักสำคัญในการปกครองและนำไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ทำให้ประชาชนมีเสรีภาพในด้านความคิด และเสรีภาพส่วนบุคคล ทำให้ประชาชนมีชีวิตที่ดีขึ้นและมีความก้าวหน้าทางภูมิปัญญามีเสรีนิยมที่กระจายไปทั่วโลก และมีเสรีภาพและความเสมอภาคซึ่งเป็นอุดมคติหลักของสังคมประชาธิปไตย

แหล่งอ้างอิง:www.bwc.ac.th/e-learning/kanidtapron/poom.ppt

การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์

การปฏิวัติวิทยาศาสตร์๋เริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นผลมาจากการพัฒนาคาวมคิดที่ยึดหลักเหตุผลซึ่งได้รับอิทธิพลจากขบวนการมนุษย์นิยมในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ยังส่งผลให้เกิดการค้นคว้าเพื่อแสวงหาความรู้ใหม่ๆ และการเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้ของมนุษยชาติ

ร 53

ปัจจัยส่งเสริมการปฏิวัติวิทยาศาสตร์

แนวคิดของนักมนุษย์นิยมที่ให้ความสำคัญกับการใช้หลักเหตุผลในการแสวงหาความจริงและการฟื้นฟูวิทยาการสมัยคลาสสิกเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ในยุโรป

การใช้หลักเหตุผลในการแสวงหาความจริง

ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติซึ่งเป็นที่ยอมรับกันมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศักราชจนถึงปลายสมัยกลาง เช่น การยอมรับว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก ล้วนเป็นการยอมรับโดยไม่มีข้อโต้แย้งหรือการพิสูจน์ใดๆ ต่อมาเมื่อมีการส่งเสริมให้ใช้หลักเหตุผลในการแสวงหาความจริง นักวิทยาศาสตร์จึงเริ่มตั้งข้อสงสัยต่อความจริง และเริ่มศึกษาโดยวิธีการสังเกต รวบรวมข้อมูลและทดลอง ก่อนสรุปเป็นองค์ความรู้หรือทฤษฎี วิธีการศึกษาดังกล่าวได้ชื่อว่าเป็น “วิธีการแบบวิทยาศาสตร์” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ เพราะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้และเกิดการศึกษาค้นคว้าต่อไปเพื่อให้ไดคำตอบที่เป็นความจริง

การฟื้นฟูวิทยาการสมัยคลาสสิก

การศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับวิทยาการสมัยคลาสสิก ทำให้นักวิทยาศาสตร์ยุโรปเรียนรู้ความคิดที่ก้าวหน้าและการใช้หลักเหตุผลของนักปราชญ์ชาวกรีกและโรมัน เช่น อริสโตเติล ยูคลิด (Euclid) อาร์คิมิดิส (Archemedes) แนวคิดดังกล่าวช่วยให้นักวิทยาศาสตร์หลุดออกจากกรอบความคิดที่ถูกกำหนดโดยอิทธิพลของศาสนา นอกจากนี้ความก้าวหน้าด้านการพิมพืยังช่วยให้องค์ความรู้ใหม่ๆ ด้านวิทยาศาสตร์ได้เผยแพร่สู่สังคม และเป็นที่ยอมรับกันต่อมา

ร 48

ผลของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์

ความสำเร็จของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ทำให้โลกก้าวสู่สมัยใหม่ที่มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และความก้าวหน้าด้านภูมิปัญญา

ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ทำให้สังคมยอมรับวิทยาการสมัยใหม่และทำให้การศึกษาวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์สมัยต่อมาได้ศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้เพิ่มเติมจากทฤษฎีที่นักวิทยาศาสตร์รุ่นแรกๆ ค้นคว้าไว้ นอกจากนี้การศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ยังขยายออกไปหลายสาขา เช่น การแพท์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ฯลฯ อนึ่ง ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ได้ส่งเสริมให้มีการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีหลากหลาย เช่น เครื่องทุ่นแรงและเครื่องจักรต่างๆ ส่งผลให้เทคโนโลยีและสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์จนถึงปัจจุบัน

ความก้าวหน้าทางด้านภูมิปัญญา

การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ยังส่งผลต่อการศึกษาและการพัฒนาความคิดในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นสมัยที่มีความก้าวหน้าทางภูมิปัญญาทุกด้าน ทั้งด้านปรัชญา การเมือง เศรษฐกิจและสังคม จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นสมัยภูมิธรรม (Age of Enlightenment) หรือยุคเหตุผล (Age of Reason) ผู้นพความคิดในการใช้หลักเหตุผล (rationalism) ของสมัยนี้คือ นักปราชญ์ฝรั่งเศส นำโดย วอลแตร์ (Voltaire) และมงเตสกิเออ (Montesquieu) อนึ่ง นักคิดในสมัยนี้ได้นำหลักเหตุผลแบบการศุกษาวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการศึกษาศาสตร์แขนงต่างๆ และสันบสนุนการใช้เสรีภาพในการคิดวิเคราะห์ และการวิพากษ์ ทำให้มีผลงานของนักปราชญ์การเมืองคนสำคัญที่มีอิทธิพลต่อความคิดของประชาชน เช่น ผลงานของจอห์น ล็อก (John Locke) นักปราชญ์การเมืองชาวอังกฤษ วอลแตร์ มงเตสกิเออ และรูสโซ (Rousseau)

โดยสรุปการปฏิวัติวิทยาศาตร์เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาความคิดและสติปัญญาของมนุษย์และทำให้สังคมโลกก้าวสู่สมัยแห่งความก้าวหน้าที่มีการศึกษาค้นคว้าและพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองอย่างไม่หยุดยั้ง อนึ่ง การที่การปฏิวัติวิทยาศาสตร์เริ่มต้นจากดินแดนยุโรป จึงทำให้ยุโรปมีความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากกว่าดินแดนอื่นๆ และเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญของยุโรป

แหล่งอ้างอิง:http://metricsyst.wordpress.com/2013/02/24/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95/

การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)

ในปลายสมัยกลาง การศึกษาและการค้าเจริญก้าวหน้า ทำให้ผู้คนในสมัยนี้กระตือรือร้นแสวงหาความรู้ใหม่ๆ ที่สามารถอธิบายเหตุการณ์และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติได้ รวมทั้งเปิดโลกทัศน์เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับความเจริญต่างๆ ซึ่งแต่เดิมถูกปิดกั้นด้วยความเชื่อทางศาสนาว่า ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโลกนี้ล้วนเป็นสิ่งที่พระเจ้าบันดาลขึ้น พัฒนาการดังกล่าวเรียกว่า “ขบวนการมนุษย์นิยม (Humanism)” อนึ่ง การเรียนรู้ที่สำคัญในสมัยนี้คือการฟื้นฟูศิลปวิทยาการสมัยคลาสสิก ซึ่งเป็นความเจริญของกรีกและโรมันในอดีต

ขบวนการมนุษย์นิยม

ขบวนการมนุษย์เริ่มต้นในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ที่แหลมอิตาลี โดยเฉพาะที่นครฟลอเรนซ์ (Florence) โรม และเวนิส โดยกลุ่มนักวิชาการซึ่งศึกษาวรรณกรรมคลาสสิกและศาสตร์ต่างๆ หลังจากนั้นในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ได้มีผลงานซึ่งเขียนด้วยภาษาท้องถิ่นและสะท้อนความคิดด้านมนุษย์นิยมแพร่หลายในยุโรปตะวันตก เนื่องจากขณะนั้นมีการประดิษญ์แท่นพิมพ์หนังสือได้จำนวนมาก การพิมพ์ไม่เพียงแต่เผยแพร่แนวคิดแบบมนุษย์นิยมในสังคมยุโรปเท่านั้น หากยังส่งเสริมให้เกิดการผลิตผลงานของนักวิชาการและกวีในดินแดนต่างๆ ด้วย

ความเจริญรุ่งเรืองในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

ร 45

ผลงานที่โดเด่นในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ได้แก่ วรรณกรรมและศิลปกรรม

ด้านวรรณกรรม ผู้บุกเบิกแนวคิดด้านมนุษย์นิยมในแหลมอิตาลีคือ เพราช (Petrarch) ซึ่งรับรูปแบบจากวรรณกรรมโรมันและถ่ายทอดเป็นผลงานประเภทกวีนิพนธ์ที่มีอิทธิพลต่อความคิดของนักมนุษย์นิยมรุ่นต่อมา ส่วนนักเขียนที่มีชื่อเสียงที่สุดในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการของแหลมอิตาลี คือ มาคิอาเวลลี (Machiavelli) ซึ่งเป็นทั้งนักรัฐศาสตร์และนักประวัติศาสตร์ ผลงานที่สำคัญของเขาคือหนังสือเรื่อง The Prince หรือเจ้าชาย ซึ่งสะท้อนแนวคิดในการบริหารและการปกครอง ที่เน้นด้านปฏิบัติมากกว่าอุดมการณ์หรือจริยธรรมของผู้ปกครอง นอกจากนี้นอกแหลมอิาลีก็มีนักมนุษย์นิยมที่มีผลงานโดเด่นด้วยที่สำคัญได้แก่ อีรัสมัส (Erasmus) ชาวเนเธอร์แลนด์ ซึ่งประยุกต์แนวคิดแบบกรีกและโรมันในการวิเคราะห์คัมภีร์ไบเบิล โดยใช้หลักเหตุผลประกอบความศรัทธาในศาสนาแทนความเชื่อแบบงมงาย และนักมนุษย์นิยมชาวอังกฤษชื่อ เซอร์ ทอมัส มอร์ (Sir Thomas More) เขียนหนังสือเกี่ยวกับรัฐในอุดมคติชื่อ Utopia (ยูโทเปีย) ซึ่งมีชื่อเสียงแพร่หลายจนกระทั่งปัจจุบันและคำว่า “ยูโทเปีย” ได้กลายเป็นคำศัพท์ที่หมายถึงรัฐในอุดมคติ

12
ภาพศิลปินคนสำคัญ คือ ไมเคิลแองเจโล (Michelangelo) และ เลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) จิตรกรชาวอิตาลี

ด้านศิลปกรรม ศิลปกรรมที่โดดเด่นในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ได้แก่ ผลงานด้านจิตรกรรม ซึ่งเริ่มในแหลมอิตาลีก่อนแพร่หลายไปในดินแดนอื่น ลักษณะเด่นของงานจิตรกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ได้แก่ การสะท้อนลักษณะที่เหมือนจริงทั้งมนุษย์และธรรมชาติ เช่น ภาพคนที่มีสรีระและสัดส่วนที่ถูกต้อง การใช้ภูมิทัศน์ของท้องทุ่งและชนบทเป็นฉากหลังของภาพ และการใช้หลักของเส้นทัศนียภาพ (Perspective) ที่สะท้อนระยะใกล้ไกลของวัตถุในภาพ จิตรกรอิตาลีที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้ เช่น เลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) ซึ่งวาดภาพ “Mona Lisa” และ “The Last Supper” หรือไมเคิลแองเจโล (Michelangelo) ซึ่งมีชื่อเสียงในการสร้างงานประติมากรรมและจิตรกรรม ผลงานจิตรกรรมที่โดดเด่น ได้แก่ จิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับการสร้างโลกบนเพดานของวิหารน้อยซิสตีน (Sistine Chapel) ในนครวาติกัน และราฟาเอล ซาานซิโอ (Raphael Sanzio) ซึ่งวาดภาพ “School of Athens” บนฝาผนังห้องสมุดของสันตะปาปา นอกจากนี้ในแคว้นแฟลนเดอร์ยังมีผลงานจิตรกรรมของกลุ่ม “เฟลมิส” (Flemish) ซึ่งสร้างสรรค์งานโดยได้รับอิทธิพลจากผลงานของจิตรกรในแหลมอิตาลี ลักษณะเด่นของงานจิตรกรในแหลมอิตาลี ลักษณะเด่นของงานจิตรกรรมแบบเฟลมิสคือ การวาดภาพสีน้ำมันบนผืนผ้าใบที่สะท้อนทิวทัศน์และวิถีชีวิตของชนบท อนึ่ง ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการนี้ จิตรกรชาวเยอรมันได้คิดค้นวิธีทำภาพพิมพ์ และมีการทำภาพพิมพ์ประกอบในหนังสือ

mona-horz

ผลกระทบของการฟื้นฟูศิลปวิทยากการต่อพัฒนาการของยุโรป

การศึกษา การคิดค้นแท่นพิมพ์ช่วยให้การศึกษาขยายตัวอย่างกว้างขวาง เพราะทำให้องค์ความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับวิทยาการสมัยคลาสสิกแพร่หลายในสังคมยุโรป นอกจากนี้การศึกษาโดยใช้หลักเหตุผลของกลุ่มมนุษย์นิยมยังเป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และทำให้เกิดการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ที่เริ่มในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และสร้างความก้าวหน้าให้กับสังคมโลกจนถึงปัจจุบัน

ศาสนา แนวคิดแบบมนุษย์นิยมที่ส่งเสริมให้ใช้หลักเหตุผลแทนความเชื่อแบบงมงายได้ส่งผลกระทบต่ออิทธิพลของคริสตจักรที่ชี้นำความคิดของผู้คนมาตลอดสมัยกลาง เนื่องจากกลุ่มปัญญาชนเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาที่ยึดถือกันมานับพันปี การพัฒนาความคิดแบบมนุษย์นิยมทำให้ชาวยุโรปเริ่มหลุดพ้นจากกรอบของศาสนาคริสต์ และทำให้เกิดการปฏิรูปศาสนาในเวลาต่อมา เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้ทำให้ศาสนาคริสต์ในยุโรปเสื่อมอิทธิพล และถือว่าเป็นการสิ้นสุดของสมัยกลาง

แหล่งอ้างอิง:http://metricsyst.wordpress.com/2013/02/15/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9F%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%9F%E0%B8%B9%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3-renaissan/

ยุคกลางหรือยุคมืด

imagesCA3OAO3G

สมัยกลางหรือยุคมืด
เริ่มประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 4 -15 เป็นช่วงรอยต่อหลังจากที่จักรวรรดิโรมันล่มสลาย ความเจริญหยุดลง ประดุจยุคมืด ประชาชนในยุโรปต่างไม่มีที่พึ่ง เจ้าผู้ครองแต่ละเมืองตั้งตัวเป็นใหญ่ เกิดระบบศักดินาสวามิภักดิ์ ประชาชนให้ความสำคัญกับศาสนจักรคริสต์โรมันคาธอลิคอย่างมาก การกระทำทุกอย่างถูกครอบงำโดยศาสนา ห้ามกระทำนอกเหนือจากคำสอนของศาสนา ไม่เช่นนั้นจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง โดยมีรายละเอียดดังนี้

การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน

zz-fall-of-rome1_resize

ก่อนหน้านี้ โรมในสมัยของจักรพรรดิคอนสแตนติน มีอาณาเขตกว้างขวางมาก จนมีการแบ่งการปกครองเป็นสองส่วน คือโรมันตะวันออกกับโรมันตะวันตก แต่แทนที่จะมีการปกครองที่ดีขึ้น ทั้งสองฝั่งกับทำสงครามกันเองเพื่อความเป็นใหญ่

X8526919-7

จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 เป็นจักรพรรดิทางด้านตะวันออก ที่ทำสงครามชนะ สามารถบุกเข้าโรม รวมอาณาจักรโรมันไว้เป็นหนึ่งเดียว แต่ครั้งนี้เมืองหลวงไม่ได้อยู่ที่โรมเสียแล้ว เนื่องจากว่าคอนสแตนตินเป็นจักรพรรดิด้านตะวันออกก็อยากจะอยู่ที่ด้านตะวันออก คือกรุงคอนสแตนติโนเปิล เมืองท่าปากทางเข้าทะเลดำซึ่งตั้งตามชื่อของเขาเอง หรืออาจเรียกว่า ไบแซนทิอุม หรือ ไบแซนไทน์ (Byzantium) ปัจจุบันคือ เมืองอิสตันบุล ในประเทศตุรกี

นั่นหมายความว่าจักรวรรดโรมันถูกแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือ
1. โรมันตะวันตก มีเมืองหลวงอยู่ที่ กรุงโรม-ประเทศอิตาลี
2. โรมันตะวันออก หรือถูกเรียกอีกชื่อว่า จักรวรรดิไบแซนไทน์ มีเมืองหลวงอยู่ที่ กรุงคอนสแตนติโนเปิล

1230741601

ในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต พระเจ้าคอนสแตนตินก็หันไปพึ่งศาสนาในขณะที่นอนป่วยอยู่บนเตียง มีเรื่องเล่าว่าเมื่อครั้งที่พระเจ้าคอนแสตนตินจะข้ามแม่น้ำไปยังกรุงโรมในสมัยสงครามกลางเมือง เขาได้เห็นนิมิตจากสวรรค์(ชึ่งก็พึ่งจะแปลความหมายออกตอนนอนป่วย) ทำให้พระองค์หันไปนับถือศาสนาคริสต์ ส่งผลให้ศษสนาคริสต์กลายเป็นศาสนาของจักรวรรดิ ซึ่งกฎหมายของพวกโรมันบังคับให้ประชาชนต้องหันมานับถือศาสนาคริสต์ จนกระทั่งแพร่หลายในยุโรปในที่สุด

หลังจากนั้นมาโรมันตะวันตกเริ่มอ่อนแอมากข้นเรื่อยๆ เนื่องจากถูกคุกคามจากชนเผผ่าต่างๆ และในที่สุดก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจของพวกวิสิกอธ หรือชนเผ่าเ
ยอรันค.ศ.476 เผ่าเยอรมันได้ปลดจักรพรรดิองค์สุดท้ายของโรมันตะวันตก(โรม) ถือเป็นการสิ้นสุดจักรวรรดิโรมัน ดินแดนยุโรปจึงแยกแยกออกเป็นอาณาจักรต่างๆ เกิดความวุ่นวายทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

ชนเผ่าที่สำคัญในยุคนั้นได้แก่
แฟรงค์ ออสโตรกอธ ลอมบาร์ด แองโกล-แซกซอน เบอร์กันเดียน วิสิกอธ แวนดัล เป็นต้น

charlem-crowned

ค.ศ.800 พระเจ้าชาร์เลอมาญ ได้รวบรวมดินแดนในยุโรปเป็นหนึ่งเดียวได้สำเร็จ และได้รับการอภิเษกจากพระสันตะปาปาซึ่งเป็นผู้นำของศาสนาคริสต์ ภายใต้ชื่อ “จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire)” หลังสิ้นสมัยพระเจ้าชาร์เลอมาญ ยุโรปถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน ต่อมากลายเป็น ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี

การล่มสลายของกรุงคอนสแตนติโนเปิล(โรมันตะวันออก) ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถือเป็นการสิ้นสุดของยุคมืดด้วย กล่าวคือ หลังจากการล่มสลายของกรุงโรม(โรมันตะวันตก) โรมันทางฝั่งตะวันออก(ไบแซนไทน์) ก็ค่อยๆลืมเลือนความยิ่งใหญ่ของตัวเองในฟากตะวันตกไปหมด จักรพรรดิองค์ต่อๆมาก็ไม่ใช่คนจากอิตาลีอีกต่อไป แต่เป็นชาวกรีกดั้งเดิมที่อยู่มาก่อนพวกโรมัน

พวกกรีกเมื่อไม่รู้สึกถึงคุณค่าของความเป็นโรมันก็ตั้งชื่ออาณาจักรใหม่เป็น“ไบแซนไทน์”(Byzantine) ตามชื่อเก่าของเมืองคอนสแตนติโนเบิล เมืองที่มั่งคั่งที่สุดในยุโรปยุคมืด แต่ชาวอาหรับที่ขยายอำนาจออกมาก็ทำให้ไบแซนไทน์เสื่อมอำนาจลงเรื่อยๆ จนในที่สุดก็มาเสียกรุงให้กับชาวเติร์ก (Turk) ทำให้กรุงไบเซนติอุมกลายเป็นเมืองหลวงในชื่อ อิสตันบูล (Istanbul) จนถึงปัจจุบัน

แหล่งอ้างอิง:http://social-ave.exteen.com/20110209/entry